สร้างมูลค่าจากเศษซากทางการเกษตร ลดการเผา ลดมลพิษ

0
462

นอกจากอากาศหนาวที่เริ่มพัดมาที่ไทยในช่วงปลายปีนี้ปัญหาฝุ่น PM 2.5 ก็กำลังจะกลับมาเยือนเช่นกัน

ในช่วงหลายปีมานี้เราต่างตระหนักถึงปัญหาของฝุ่นกันมากขึ้นทุกปี ซึ่งเจ้าฝุ่นพวกนี้ก็มีแหล่งกำเนิดจากการคมนาคมขนส่ง การผลิตไฟฟ้าจากเชื้อเพลิงฟอสซิล กระบวนการการผลิตทางอุตสาหกรรม และการเผาในที่โล่ง
ภาคการเกษตรเองก็มีผลในการทำให้เกิดปัญหาของฝุ่น PM 2.5 ที่มาจากการเผาเช่นเดียวกัน โดยเฉพาะกับพืชเศรษฐกิจใหญ่ ๆ ในบ้านเราประกอบไปด้วย ข้าว ข้าวโพด อ้อย มันสำปะหลัง ที่เมื่อทำการเก็บเกี่ยวแล้วจะเหลือซาก เศษ พืชทิ้งไว้ในแปลง วิธีในการกำจัดที่เร็วที่สุดก็คงไม่พ้นวิธีของการเผา

ถามว่าทำไมต้องมีการเผา ? เพราะเศษซากบางอย่างกำจัดโดยการใช้เครื่องมือทางการเกษตรกำจัดได้ยาก ต้องใช้เวลากว่าจะย่อยสลายและมีค่าใช้จ่าย ดังนั้นการเผาจึงเป็นวิธีที่เร็ว ง่าย และไม่ต้องลงทุนอะไร

แล้วถ้าไม่เผาล่ะ ? เราจะส่งเสริมหรือมีทางเลือกอะไรให้กับเกษตรกรได้บ้าง

เดี๋ยววันนี้ผมจะมาเสนอและแนะนำวิธีที่เราสามารถเพิ่มมูลค่าให้กับเศษซากที่เหลือจากการทำเกษตรให้ได้อ่านกันครับ

เริ่มที่พืชตัวแรกกันเลยครับ

ข้าว เมื่อเก็บเกี่ยวข้าวแล้วจะเหลือฟางข้าวไว้ในแปลง ซึ่งฟางข้าวพวกนี้ครับสามารถอัดก้อนและขายได้ โดยขายเป็นอาหารสัตว์ ขายเป็นของตกแต่งร้านให้กับพวกรีสอร์ท ร้านกาแฟ หรืองานต่าง ๆ ได้ นอกจากนี้แล้วยังเอาไปใช้ในการคลุมหน้าดินสำหรับการปลูกผักหรือใช้เป็นส่วนผสมในการเพาะเห็ดฟางได้ครับ และในปัจจุบันก็มีโรงงานไฟฟ้าชีวมวลหลายแห่งที่สนใจรับซื้อฟางเพื่อนำไปใช้ในการผลิตไฟฟ้า

ข้าวโพด ข้าวโพดจะมีทั้งข้าวโพดเลี้ยงสัตว์และข้าวโพดหวาน ในกระบวนการเก็บจะแตกต่างกัน โดยข้าวโพดหวานจะใช้คนเก็บฝักข้าวโพดก็จะเหลือต้นเอาไว้ในแปลงต้นเหล้านี้หากไม่ไถกลบเกษตรกรก็สามารถนำไปขายเป็นอาหารเลี้ยงสัตว์ได้ ส่วนข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ที่ใช้รถเกี่ยวเกี่ยวจะเหลือต้น ซังข้าวโพด ที่ป่นอยู่ในแปลง ในตอนนี้มีทางโรงไฟฟ้าชีวมวลหลายแห่งสนใจในการอาไปเพราสามารถใช้รถอัดฟางข้าว รถอัดใบอ้อยในการอัดก้อนเศษซากพวกนี้ได้

อ้อย อ้อยในปัจจุบันทางโรงหีบอ้อยออกมาตรการในการไม่รับอ้อยเผาเลยหรือถ้ารับก็โดนตัดราคา แต่ก็ยังมีบางส่วนที่ยังลักลอบเผาอยู่อาจเพราะขาดแคลนรถที่เข้าไปเก็บเกี่ยวผลผลิตให้ พื้นที่ไม่เหมาะกับการใช้รถเกี่ยว จึงอาจจะมีความจำเป็นที่ใช้แรงงานคนในการเก็บเกี่ยวซึ่งวิธีการเผาใบอ้อยจะทำให้คนงานสามารถเข้าไปทำงานได้เร็วขึ้น แต่ในปัจจุบันโรงงานหีบอ้อยรับซื้อพวกเศษซากที่เหลือจากการเก็บเกี่ยวเป็นใบอ้อยอัดก้อน เกษตรกรสามารถขายได้โดยตรงกับทางโรงไฟฟ้าของโรงงานหีบอ้อย หรือขายให้เป็นของตกแต่งก็ได้ครับ

มันสำปะหลัง ถึงพืชตัวสุดท้ายแล้วนะครับที่จะมาพูดถึงกัน เมื่อเห็บหัวมันสำปะหลังเสร็จแล้วนะครับจะเหลือส่วนที่ติดกับต้นและหัวมันสำปะหลังก็คือเหง้าครับ เหง้ามันสำปะหลังจะถูกทิ้งไว้ในแปลงครับถ้าไม่เปาก็รอให้ย่อยไปเอง ตัวเหง้าเราสามารถนำไปทำฟืนได้ครับมันเหมือนกับกิ่งไม้เลย ยิ่งถ้าหากแปลงไหนที่ปลูกน้ำหยดหรือปลูกข้ามปีเหง้าจะใหญ่มาก ๆ เลยครับ ถ้าไม่นำไปเผาถ่านก็ขายให้กับทางโรงไฟฟ้าได้เลยครับ ปัจจุบันเองมีโรงงานไฟฟ้าชีวมลหลายแห่งเริ่มรับซื้อเหง้ามันแล้วนะครับ

เป็นอย่างไรบ้างครับกับวิธีในการลดการเผาและเพิ่มมูลค่าให้กับเศษซากที่เหลือจากการทำการเกษตร หวังว่าคงจะเป็นประโยชน์กับผู้อ่านนะครับ แต่ถ้าหากใครมีวิธีในการเพิ่มมูลค่ากับพืชอื่น ๆ ได้อีกสามารถคอมเม้นท์แสดงความคิดเห็นกันเข้ามาได้เลยนะครับ

ทิ้งคำตอบไว้

กรุณาใส่ความคิดเห็นของคุณ!
กรุณาใส่ชื่อของคุณที่นี่