อนาคตเกษตรกรไทยกับการเปลี่ยนภาพสู่เกษตรเทคโนโลยี

0
604

หากกล่าวว่า “สังคมเกษตรกรไทยเป็นสังคมที่เพาะปลูกตามบรรพบุรษ” ก็คิดว่าถูกต้อง แต่ถูกต้องในบริบทเมื่อ 10 ปีที่แล้ว ยอมรับว่าสังคมเกษตรกรเป็นสังคมที่พึ่งพาน้ำฝนเป็นหลัก ฝนไม่มีก็จุดธูปขอเทวดา หรือไม่ก็แห่นางแมว ตามประเพณี 

แต่เมื่อกาลเวลาเปลี่ยนผ่าน เทคโนโลยีใหม่ๆ เข้ามาทดแทน โดยเฉพาะเทคโนโลยีทางการเกษตรหรือที่เรียกว่า Agritech ซึ่งเป็นเทคโนโลยีหรือนวัตกรรมเพื่อให้กระบวนการทำการเกษตรอย่างมีคุณภาพ หรือทำให้ผลผลิตดียิ่งขึ้น โดยเทคโนโลยีนี้ ได้สร้างมาเพื่อตอบสนอง หรือแก้ปัญหาทางการเกษตรอย่างแท้จริง 

ขอบคุณภาพจาก Smart digital agriculture technology by futuristic sensor data collection management by artificial intelligence to control quality of crop growth and harvest.

ใน 1- 2 ปีผ่านมา เราจะเห็นว่า เทคโนโลยีมีความก้าวกระโดดค่อนข้างมาก เทคโนโลยีในต่างประเทศที่เริ่มมีการใช้ในการเกษตรกันอย่างแพร่หลายในการแก้ปัญหาการขาดแคลนน้ำของพืช เราทุกคนรู้ว่าพืชต้องการน้ำในการเจริญเติบโต แต่พืชจะเกิดอาการเครียด ถ้ามีน้ำมากหรือน้ำน้อยเกินไป หรือปัญหาคุณภาพดินที่มีการเปลี่ยนแปลงไป อย่างไรก็ตามได้มีเทคโนโลยีที่เรียกว่า smart sensor ที่ใช้ในการเก็บข้อมูลดินของเกษตรกร ตั้งแต่อดีต จนถึงสภาพดินปัจจุบันเป็นรายชั่วโมง ทำให้เกษตรกรสามารถคาดการณ์ปริมาณน้ำที่ใช้ให้เหมาะสมกับพืชแต่ละชนิดได้ นอกจากนี้  smart sensor ยังสามารถวิเคราะห์ปริมาณน้ำที่รากจะสามารถดูดซึมน้ำได้อย่างมีประสิทธิภาพ หรือความลาดชันของพื้นที่ดินที่น้ำจะไหลผ่านไปสู่พืชที่ปลูก  ซึ่งเป็นผลดีต่อเกษตรกรในการดูแลแปลงของตนเอง อีกทั้งเป็นการประหยัดน้ำ และประหยัดเวลาในการลงดูแปลงอีกด้วย

ส่วนประเทศไทยเราเองเริ่มมีการนำเทคโนโลยีทางการเกษตรเข้ามาเพื่อใช้ในประเทศไทย ทั้งการลดความเสี่ยงในการเพาะปลูกและเพิ่มผลผลิตให้กับเกษตรกร ตั้งแต่เริ่มการเตรียมดิน ไปจนถึง การเก็บเกี่ยวส่งขายไปยังผู้บริโภค

ซึ่งผมจะอธิบายเพิ่มเติม โดยจะยกตัวอย่างเกษตรกร กับการใช้เทคโนโลยีในแต่ละช่วงการผลิตดังต่อไปนี้

การใช้โทรศัพท์ในการตรวจเช็คสภาพแปลง

ขั้นตอนเตรียมการเพาะปลูก

เกษตรกรสามารถซื้อผลิตภัณฑ์สินค้าทางการเกษตรออนไลน์ เพื่อเป็นการลดต้นทุนการผลิต รวมทั้งหากเกษตรกรต้องการขอสินเชื่อก็สามารถขอสินเชื่อผ่านช่องทางออนไลน์ ในฝั่งธนาคารหรือผู้ปล่อยสินเชื่อก็สามารถตรวจเช็คประเมิณความเสี่ยงจากภาพถ่ายดาวเทียมแต่ละแปลง ทำให้สามารถประเมิณความเสี่ยงของเกษตรกรผู้กู้ได้อย่างแม่นยำ นอกจากนี้ในอนาคตจะมีเทคโนโลยีที่คำนวณการผลิตของทั่วโลกทำให้เกษตรกรสามารถคาดการณ์ว่าพืชที่ตลาดโลกปลูกมาก ส่งผลให้ราคาตกต่ำก็สามารถเปลี่ยนเป็นปลูกพืชอย่างอื่นได้ ที่คนปลูกน้อย ซึ่งอาจจะมีราคาที่สูงมากกว่า

ขั้นตอนการเพาะปลูก

ในอนาคตเกษตรกรสามารถใช้เทคโนโลยีในการคำนวณวันลงปลูกที่ดีที่สุด ซึ่งเทคโนโลยีตัวนี้จะนำข้อมูลการพยากรณ์อากาศ และความต้องการน้ำของพืชมาคำนวณรวมกัน ทำให้เมื่อหยอดเมล็ดพืช พืชจะได้น้ำตามที่พืชต้องการไม่เสี่ยงต่อการเจอภัยแล้ง  หรือมีการติดตั้งเทคโนโลยีที่ใช้วัดค่าดิน เพื่อให้ตรวจสอบความต้องการน้ำของพืช รวมถือเกษตรกรสามารถใช้ดาวเทียมในการตรวจแปลงเพื่อป้องกันไม่ให้ผลผลิตเสียหาย หากเกิดความเสียหายเกษตรกรก็สามารถแก้ไขได้ทันที

ขั้นตอนการเก็บเกี่ยว

เกษตรกรใช้เทคโนโลยีที่คำนวณวันเก็บเกี่ยวแล้วได้ผลผลิตดีที่สุด ส่วนในด้านอุปกรณ์เกษตรกรสามารถรวมกลุ่มกับเพื่อนบ้านเรียกรถเก็บเกี่ยว เพื่อรถต้นทุนได้ นอกจากนี้หลังเก็บเกี่ยวยังสามารถเรียกรถเก็บซากทางการเกษตร ส่งให้โรงงานไฟฟ้าเพื่อเป็นการเพิ่มรายได้ และลดการเผาที่ทำให้เกิดฝุ่น PM 2.5 อีกด้วย

นอกจากนี้เกษตรกรจะสามารถติดต่อกับตลาดผู้บริโภคได้โดยตรง และผู้บริโภคก็สามารถเลือกซื้อสินค้าจากเกษตรกรได้โดยตรง ซึ่งไม่จำเป็นต้องผ่านพ่อค้าคนกลาง ทำให้ผู้บริโภคได้สินค้าอย่างมีคุณภาพ และเกษตรกรก็ได้เงินจากสินค้าอย่างเต็มเม็ดเต็มหน่วย

จะเห็นได้ว่า อีกไม่เกิน 5 ปีเกษตรกรไทยจะต้องปรับตัวให้เข้ากับเทคโนโลยีที่เปลี่ยนแปลงไปเป็นอย่างมาก โดยเฉพาะการพร้อมที่จะเรียนรู้ต่อการเปลี่ยนแปลงตลอดเวลา ซึ่งจะทำให้กลายเป็นเกษตรกรยุคใหม่ที่ทันสมัยในยุคนี้ได้นั่นเอง

ทิ้งคำตอบไว้

กรุณาใส่ความคิดเห็นของคุณ!
กรุณาใส่ชื่อของคุณที่นี่