สวัสดีวันศุกร์ค่ะ วันนี้มีเรื่องราวเกี่ยวกับไมโครกรีน หรือ ผักต้นจิ๋วๆมาฝากกันนะคะ ใครอยากปลูกรับประทานเองหรือปลูกขาย อย่าลืมติดตามบทความนี้ได้เลยค่ะ
ไมโครกรีนคืออะไร ?? ไมโคร แปลว่าเล็กๆ กรีน แปลว่าสีเขียว ไมโครกรีนก็คือผักสีเขียวต้นเล็กๆนั่นเองค่ะ ต้องบอกเลยว่าการปลูกผักจิ๋วนี้เป็นการปลูกผักที่เรียกว่าใช้เวลาน้อยที่สุด เหมาะสำหรับคนไม่มีพื้นที่ ไม่มีเวลา แล้วก็มือใหม่ที่ยังไม่เคยปลูกผักอะไรเลย

ประโยชน์ ผักจิ๋วเหล่านี้เต็มไปด้วย แร่ธาตุ วิตามิน และสารแอนไทออกซิแดนท์ ช่วยลดความเสี่ยงจากการเกิดโรคมะเร็ง โรคหัวใจ ทำให้ผิวพรรณสุขภาพดีได้ด้วย รสชาติของผักจิ๋วก็มีแตกต่างกันไปทั้งขม เผ็ด มีกลิ่นฉุน นอกจากนี้การปลูกผักรับประทานเองยังปลอดภัยจากสารเคมีตกค้างอีกด้วยค่ะ
ยกตัวอย่างผักจิ๋วยอดฮิต
- ตระกูลผักกระหล่ำ (Brassicaceae) เช่น กระหล่ำ คะน้าฮ่องกง วอเตอเครส
- ตระกูลทานตะวัน (Asteraceae) เช่น ทานตะวัน ผักกาดหอม
- ตระกูลผักชี (Apiaceae) เช่น ผักชี แครอท ไชเท้า เซอราลี
- ตระกูลกระเทียม (Amaryllidaceae) เช่น กระเทียม ต้นหอม
- ตระกูลผักโขม (Amaranthaceae) เช่น ผักโขม ควินัว สปิแนช
- ตระกูลแตง (Cucurbitaceae) เช่น เมล่อน แตงกวา

อุปกรณ์
- เตรียมดินปลูก เช่นดิน กากมะพร้าว และภาชนะสำหรับปลูก เช่น ถาดปลูก พลาสติกปลูก
- เมล็ดผักที่ต้องการ (ควรซื้อจากแหล่งที่สะอาด ปลอดภัย และมีเปอร์เซนต์การงอกสูง)
- ฟ๊อกกี้หรือสเปรย์สำหรับรดน้ำ (ไม่ควรรดน้ำแรงเพราะเมล็ดออาจจะกระจายขึ้นไม่สม่ำเสมอ)
วิธีการปลูก
- นำเมล็ดแช่น้ำประมาณ 4-6 ชม. หรือ 1 คืน
- นำดินใส่ภาชนะ ใส่ดินความลึกไม่เกิน 1 นิ้ว แล้วสเปรย์น้ำให้ชุ่ม
- โรยเมล็ดให้ทั่วจากนั้นปิดฟาหรือหาอะไรคลุมไว้ แล้วสเปรย์น้ำให้ชุ่ม
- เมื่อผักเริ่มงอกให้วางรับแสงแดดในตอนเช้าอย่างน้อย 4 ชม./วัน
- เก็บเกี่ยวประมาณ 7-21 วัน ใช้มีดคมหรือคัตเตอร์ ตัดลำต้นให้ชิดกับดิน(ระวังผักช้ำ) เมื่อตัดแล้วผักไม่สามารถงอกได้อีก

เนื่องจากเรานิยมรับประทานไมโครกรีนแบบสดๆ จึงควรระวังเรื่องเชื้อซาโมเนลลา และ อีโคไล ที่สามารถพบได้จากมูลสัตว์ ไมโครกรีนไม่จำเป็นต้องใส่ปุ๋ยเพราะใช้เวลาปลูกสั้นๆ ดังนั้นควรเลือกวัสดุปลูกและเมล็ดพันธุ์ที่สะอาดนะคะ
ที่มา : https://www.healthline.com , https://esc.doae.go.th/wp-content/uploads