ประเด็นร้อนเดือนเมษายน ยาวๆต่อเนื่องไปจนเดือนพฤษภาคม กับเรื่องของฝนฟ้าอากาศที่แยกกันไม่ขาดกับพี่น้องชาวเกษตกรของเรา วันนี้น้องใบไม้มีข้อมูลฉบับพิเศษสำหรับพี่ๆที่ปลูกมันสำปะหลังมาฝากครับผม “ชาวมันสำปะหลังกับวิธีการรับมือกับการรอคอยฝนแรกของปี ดูแลรับมืออย่างไรให้ไม่พัง”
เรียกว่าสนั่นกันทุกพืชกันทีเดียวเชื่อว่าในช่วงนี้พี่ๆเกษตรกรต่างรอฝนกันอย่างใจจดใจจ่อ บางท่านเตรียมที่จะปลูกแต่ฝนยังไม่มาซักทีก็กังวลว่าจะเอายังไงดี บางท่านปลูกไปแล้วยิ่งกังวลหนัก พอฝนไม่มาต้นมันที่ปลุกไว้ก็อาจจะมีตายไปแล้วบ้าง ตามมาด้วยบางครั้งเจอเรื่องแมลงมารุมเพิ่มเข้าไปอีก พี่ๆเกษตรกรจะทำอย่างไรได้บ้างกับปัญหาที่เกิดขึ้นที่เรียกว่าไม่สามารถเข้าไปควบคุมเองได้ทั้งหมด วันนี้น้องใบไม้มีคำตอบให้ครับ
:สรุปภาพรวมของแนวโน้มอากาศและนำ้ฝน:
ภาพรวมในประเทศไทยปีนี้พบว่าแนวโน้มฝนกลับมาใกล้เคียงกับค่าปกติของฝนที่เคยเป็นมาของไทย (กลับมาสู่สภาวะแบบมาตรฐาน) ไม่มากเหมือนน้ำฝนปีที่แล้ว นั่นหมายความว่าถ้าเคยเจอแล้งก็มีโอกาสที่ในพื้นที่จะแล้ง คำถามแล้วเราจะรู้ได้อย่างไรว่าพื้นที่แปลงของเราจะเผชิญกับฝนแบบไหน น้องใบไม้ขอยกตัวอย่างในการดูข้อมูลกันครับ
ตัวอย่างข้อมูลเป็นของพื้นที่ อ.พิมาย จังหวัดนครราชสีมา ซึ่งเป็นพื้นที่การปลูกมันสำปะหลังขนาดใหญ่ที่คาดว่าน่าจะตรงกับพื้นที่ของหลายๆคน

จากรูปที่เราวาดแปลงและอ่านข้อมูลที่สรุปผริมาณน้ำฝนออกมา พบว่าเมื่อดูพยากรณ์ฝนล่วงหน้า 9 เดือน ในพื้นที่อ.พิมาย ตั้งแต่เดือนเม.ย.ไปจนถึง ธ.ค. ภาพรวมฝนน้อยกว่าปีที่แล้วทั้งหมด ยกเว้นในช่วงเดือนมิ.ย.ที่อาจจะมากกว่าค่าเฉลี่ยได้ และปีนี้ฝนก็หมดเร็วตั้งแต่ช่วง ต.ค. หมายความว่าฝนจะอยู่เต็มๆแค่ 5-6 เดือนเท่านั้น รู้แบบนี้เราได้เตรียมตัวกันทันครับ
พี่ๆเกษตรกรต้องเตรียมตัวป้องกันหรือรับมืออย่างไรกันดี?
- เตรียมปลูก เอาท่อนมันมาไว้แล้ว แต่จากการพยากรณ์เราคาดว่าฝนจะมาช่วงกลาง พ.ค. ถ้าท่อนพันธุ์ตัดมาใกล้ 1 เดือนแล้ว รอไม่ไหวก็มองๆหาซื้อท่อนพันธุ์ใหม่เอาไว้ด้วยนะครับ ในฤดูแล้งอย่างนี้ ควรเก็บท่อนพันธุ์ไว้ในที่ร่ม อย่าเพิ่งรีบตัดแบ่งเป็นท่อนเล็ก ตอนจะใกล้ปลูกก็ตัดหัวตัดท้ายส่วนที่แห้งทิ้งไป
- เพิ่งปลูกไปอายุไม่ถึง 3 เดือน ให้เช็คอัตราการงอก เพื่อดูว่าต้นแห้งตายไปแล้วหรือไม่ มีรากบ้างแล้วหรือยัง ถ้าต้นมันแห้งตายแนะนำให้หาพันธุ์เพื่อซ่อมแปลง ถ้ายังไม่ตายก็ให้น้ำซักหน่อยนะครับ ถ้าไม่มีน้ำหยดก็ใช้โดรนฉีดพ่นพร้อมๆกับสารป้องกันแมลงก็ได้ครับ ที่สำคัญควรตรวจแปลงดูแมลงให้บ่อยขึ้น อย่างน้อยก็สัปดาห์ละ 1 ครั้ง เพราะถ้าแล้งแมลงมาแน่นอน
- ในช่วงมันใกล้เก็บเกี่ยว ช่วงนี้ไม่มีปัญหา แต่ว่าถ้าจะเก็บพันธุ์ไว้ปลูกต่อก็กะเวลาดีๆ เพราะท่อนพันธุ์มัน ไม่ควรเก็บไว้นานเกิน 1 เดือนนะครับ
ด้านบนเป็นเพียงหนึ่งตัวอย่างของหนึ่งพื้นที่ที่ลองยกมาเป็นตัวอย่างกันครับหวังว่าพี่ๆหลายๆท่านจะสามารถนำข้อมูลไปปรับใช้กันได้ครับ ซึ่งในแต่ละพื้นที่จะมีลักษณะฝนแตกต่างกันไป ถ้าพี่ๆเกษตรกรอยากรู้ว่าแล้วแปลงที่ดูแลจะเป็นอย่างไรได้รีบวางแผนก่อนใคร พี่ๆสามารถดูข้อมูลเหล่านี้ได้จากแอปใบไม้รีคัลท์ใช้งานฟรี! ไม่มีค่าใช้จ่ายครับผม เพียงแค่ สมัคร → วาดแปลง → ดูข้อมูลอากาศฟ้าฝนแบบรายเดือนฟรีไปเลย จะฝนไหนๆก็เอาอยู่
เกษตรกรผู้ปลูกมันสำปะหลังต้องรอดไปด้วยกันครับ! เป็นกำลังใจให้น้องใบไม้ฝากพี่ๆแชร์ข้อมูลหรือส่งต่อเพื่อให้เราชาวปลูกมันผ่านพ้นช่วงเวลานี้ไปด้วยกันนะครับ
***แอปใบไม้รีคัลท์ใช้ฟรี!!! ตลอดกาล***
ดาวน์โหลดเลย
มีข้อสงสัยการใช้งานแอป สามารถสอบถามได้ที่ไลน์รีคัลท์ @ricult
เฟซบุค https://www.facebook.com/RicultThailand/
หรือโทร 080-1366618 เวลา 10.00-18.00 ยกเว้นวันหยุดราชการ