Product management ที่รีคัลท์ทำอะไรบ้าง?

0
566

สำหรับท่านที่ยังไม่ค่อยคุ้นเคยกับรีคัลท์ ผมขอเล่าถึงข้อมูลพื้นฐานของรีคัลท์แพลตฟอร์มก่อนเพื่อที่จะได้รู้จักกันมากขึ้นในภาพใหญ่ ก่อนจะลงรายละเอียดในเนื้อหาท่อนหลักนะครับ

ข้อมูลพื้นฐานของรีคัลท์

  1. รีคัลท์เป็นแพลตฟอร์มที่ให้บริการในไทย และในปากีสถาน โดยมีวิสัยทัศน์ที่จะเป็น ผู้ให้บริการทางด้านการเงินกับเกษตรกร
  2. ปัจจุบันรีคัลท์ประกอบด้วย 2 ผลิตภัณฑ์หลักๆ คือ แอปพลิเคชันสำหรับเกษตรกร และแพลตฟอร์มสำหรับธุรกิจ อาทิ โรงงานน้ำตาล โรงงานมันสำปะหลัง และธนาคาร เป็นต้น
  3. ผลิตภัณฑ์ส่วนใหญ่ของรีคัลท์จะเกี่ยวข้องกับการบริหารจัดการแปลงของเกษตรกร โดยใช้เทคโนโลยี อาทิ อากาศ ภาพถ่ายทางดาวเทียม ปัญญาประดิษฐ์ เป็นต้น เพื่อวิเคราะห์ให้กับผู้ใช้งาน
  4. ปัจจุบันรีคัลท์มีสมาชิกลงทะเบียนแล้วกว่า 5 แสนคนและมีข้อมูลเกี่ยวกับแปลงเกษตรกรรมกว่า 6 ล้านไร่

แล้วทีมผลิตภัณฑ์ทำอะไรบ้าง

ทีมผลิตภัณฑ์ของรีคัลท์ทำงานครบวงจรของการบริหารจัดการผลิตภัณฑ์ตั้งแต่ค้นหาปัญหาจนกระทั่งปล่อยผลิตภัณฑ์และทำให้มันเติบโตตามเป้าหมายที่วางไว้ ดังภาพด้านล่าง

หมายเหตุ: สิ่งที่หายไปจากวงจรข้างบนจะเป็นในส่วนของการพัฒนาผลิตภัณฑ์ที่ทีมจะต้องทำงานร่วมกับทีม Developer

ตัวอย่างการค้นหาปัญหาที่มักจะพบเจอบ่อย จะเกิดจากการที่ทีมรีคัลท์นำข้อมูลการใช้งานมาวิเคราะห์และปรับปรุงเพื่อให้ผู้ใช้งาน สามารถใช้งานได้อย่างง่ายขึ้น เช่น หากพบว่ามีการ Drop-off จากการลงทะเบียนเนื่องจากการใส่รหัส OTP เยอะ ทางทีมอาจจะทำ A/B testing เพื่อทำการปรับข้อมูลในหน้านั้น หรือทำการลงพื้นที่เพื่อไปทดสอบกับเกษตรกร เป็นต้น

ตัวอย่างการลงพื้น

และสำหรับเครื่องมือหลักๆ ที่ใช้ในการทำงานได้แก่

  • Notion: เป็นซอฟต์แวร์ที่ช่วยในการบริหารจัดการหลักตั้งแต่ Product Roadmap, Epic, User story และ Bug และยังรวมถึงการบริหารจัดการข้อมูลและบุคคลากรภายในทีม อาทิ Product wiki และ Newsletter ของทางรีคัลท์
  • Figma: เป็น design tool หลักๆ ที่ใช้ในการทำ Prototype และ Usability testing
  • Zeplin: เป็นซอฟต์แวร์สุดท้ายสำหรับ Final design เพื่อให้ทีม Designer ใช้งานในการประสานงานกับทางทีม Developer

สำหรับในส่วนเฟลมเวิร์คในการทำ ในช่วงปีที่ผ่านมาทางทีมรีคัลท์ได้มีการเปลี่ยนเฟลมเวิร์คในการทำงานจากรูปแบบของ Lean process มาใช้ Scrum เพื่อบริหารจัดการฟีเจอร์ที่จะปล่อยออกมาใหม่ได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น

ตัวอย่างแอปพลิเคชันสำหรับเกษตรกร

ตัวอย่างแพลตฟอร์มสำหรับธุรกิจ

แล้ววัฒนธรรมของทีมเป็นอย่างไรบ้าง?

ส่วนใหญ่แล้วทีมผลิตภัณฑ์แต่ละคนจะทำงานค่อนข้าง Independence โดยแต่ละคนจะได้รับมอบหมายฟีเจอร์ที่แตกต่างกันไป และให้ดูแลฟีเจอร์นั้นๆ

อย่างก็ตามทีมจะมีการพบปะกันเองทุกๆ อาทิตย์เพื่อพูดคุยกับเรื่องฟีเจอร์หรือการพัฒนาใหม่ๆ และยังมีการ Sharing ทุกๆ เดือนไม่ว่าจะเกี่ยวกับงาน หรือนอกงาน ยกตัวอย่างในอดีต ก็มีการแชร์เรื่อง Time-boxing เพื่อใช้ในการช่วย Productivity ในการทำงาน

นอกจากนี้เรายังต้องมีลงพื้นที่ออกไปพบเจอเกษตรกร หรือเข้าร่วมงานกับทางพาร์ทเนอร์บ่อยๆ อีกด้วย

และหากท่านใดสนใจที่จะเข้าร่วมทีมรีคัลท์สามารถส่ง Resume มาได้ที่ contact@ricult.com